โครงการส่งเสริมสุขภาพชุมชน

สนับสนุนเราติดต่อสอบถาม

โครงการส่งเสริมสุขภาพชุมชน

(Community Health Promotion Project)

ความเป็นมา

โครงการส่งเสริมสุขภาพชุมชนเป็นโครงการนำร่องในพื้นที่รัฐฉานตะวันออกในเขตปกครองของว้าใต้  เนื่องจากการทำงานโครงการความร่วมมือเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ ปรากฏว่ามีสถิติของเด็กที่เกิดมาพิการเป็นจำนวนมากกว่าชนเผ่าอื่น ๆ ดังนั้นโครงการนี้จึงมีเป้าหมายที่จะช่วยส่งเสริมสุขภาพของชุมชนให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพของแม่และเด็ก การดูแลสุขอนามัยในครัวเรือน  และโภชนาการ  โดยการอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลตนเองของคุณแม่ตั้งครรภ์  การอบรมเรื่องโภชนาการด้านอาหาร  และการดูแลสุขอนามัยในครัวเรือน เป็นต้น

อย่างไรก็ตามในปี 2019 เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 จึงทำไห้ไม่สามารถเดินทางและติดต่อกับกลุ่มว้าทางพม่าได้ตามเป้าหมาย จึงเปลี่ยนมามาทำงานฝั่งไทยชั่วคราวที่บ้านแม่ปูนล่างแทน   โดยการส่งเสริมการทอผ้าให้กับกลุ่มสตรีและคนรุ่นใหม่เพื่อเป็นการสืบสานวิถีชีวิต ทำให้เกิดการรวมกลุ่มสตรีเล็ก ๆ  ที่ต้องการฟื้นฟูและอนุรักษ์วิถีชีวิตดั้งเดิมไว้นอกจากนี้เป็นการให้กลุ่มสตรีสามารถมีรายได้เสริมอีกและเป็นการเวลาร่วมกันการเสริมสร้างความเชื่อและหนุนใจซึ่งกันและกัน และประกาศเรื่องของพระเจ้าซึ่งจะเป็นท่อพระพรต่อไปยังผู้อื่นโดยเฉพาะสตรีว้าประเทศพม่า

ตารางด้านล่างคือคือแผนกิจกรรมของโครงการ

กลุ่มเป้าหมายความจำเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นวิธีการปัญหาและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นได้แนวทางการแก้ปัญหา/อุปสรรค
กลุ่มสตรีว้า• อาชีพที่ทำที่บ้านได้
• Empowerment กลุ่มสตรีว้า
• การคุมกำเนิด
• กลุ่มสตรีมีรายได้
• มีการรวมกลุ่มกันในชุมชนและทำงานด้วยกัน
• กลุ่มสตรีมีผู้เชื่อใหม่ ๆ เกิดขึ้น
• สตรีว้ามีพลังในตัวเอง
• กลุ่มสตรีว้ามีความเชื่อที่ถูกต้องเกี่ยวกับการคุมกำเนิด
• แปรรูปสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
• จัดหาตลาด
• สร้างอาคารหรือศาลาอเนกประสงค์เพื่อรวมกลุ่มกัน
• การจัดอบรมการเสริมสร้างพลังตรีว้า การคุมกำเนิด
• การประกาศข่าวประเสริฐผ่านกิจกรรมที่ทำ
• สถานการณ์การเมืองในพม่า
• การแพร่ระบาดของโควิด
• ข้อจำกัดการเข้าพื้นที่
• การสื่อสารเกี่ยวกับสัญญาณอินเทอร์เน็ต
• มีตัวแทนในการทำงานที่เป็นคนในพื้นที่ที่ผ่านการอบรมจากโครงการ
• การให้คริสตจักรมีส่วนร่วมหรือให้คริสตจักรเป็นเจ้าภาพหรือผู้ดำเนินการเอง
แม่และเด็ก• โภชนาการทั้งแม่และเด็ก
• วัคซีนเด็ก
• Daycare ศูนย์รับเลี้ยงเด็กกลางวัน
• เด็กที่เกิดมาไม่พิการและเติบโตสมบูรณ์แข็งแรง
• เด็ก ๆ มีผู้ดูแล ลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ และได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
• ส่งเสริมโภชนาการที่ดีให้แก่เด็ก และฉีดวัคซีนให้เด็ก ๆ
• ส่งเสริมคริสตจักรให้เป็นสถานรับเลี้ยงเด็ก
• ฝึกอบรมพี่เลี้ยงเด็ก
• งบประมาณหรือค่าตอบแทนพี่เลี้ยงอาจไม่เพียงพอ
• วัคซีนอาจไม่เพียงพอ
• สอนเรื่องการผลิตอาหารและโภชนาการที่ควรจะได้รับ
• ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในเรื่องค่าอาหารเด็ก และค่าพี่เลี้ยง
ผู้สูงอายุ• การส่งเสริมภูปัญญาท้องถิ่น/งานฝีมือ• สามารถดึงจุดเด่นหรือศักยภาพของคนในชุมชนออกมา ทำให้ สว เห็นคุณค่าของตนเอง และสืบสานวัฒนธรรมอันดีงามต่อไป• ค้นหาศักยภาพของคนในชุมชนและให้มีการรวมกลุ่มและต่อยอดจากศักยภาพที่เขามี
• จัดเวทีแสดงศักยภาพ
• เกิดการแข่งขันกันระหว่างผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและเกิดการแตกแยกในกลุ่ม• การสร้างความเข้าใจตั้งแต่แรกเริ่มและตั้งข้อตกลงที่ชัดเจน
คลินิก/ศูนย์สุขภาพ• มีคลินิกย่อยประจำชุมชน
• ยารักษาโรค
• อุปกรณ์การแพทย์
• คนว้าสามารถเข้าถึงการบริการด้านสาธารณสุขมากขึ้น• สร้างอสม
• อบรมให้ความรู้
• สนับสนุนยาและอุปกรณ์การแพทย์
• ยาและอุปกรณ์การแพทย์ ไม่เพียงพอ
• การนำเข้ามีความยากลำบาก
• ไม่มีผู้สนับสนุน
• หาองค์กรคู่มิตรและทำงานร่วมกันกับองค์กรที่ทำงานประเด็นคล้าย ๆ กัน