โครงการเปลี่ยนสภาพชุนชนชนเผ่าในลุ่มน้ำโขง

สนับสนุนเราติดต่อสอบถาม

โครงการเปลี่ยนสภาพชุนชนชนเผ่าในลุ่มน้ำโขง

ชุมชนชนเผ่าในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภูเขา ที่ราบสูง และป่าดิบชื้น การตั้งถิ่นฐานมักอยู่ใกล้แม่น้ำลำธารเพื่อใช้ในการเกษตรและดำรงชีวิต มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับธรรมชาติ เชื่อในจิตวิญญาณของป่าไม้ ภูเขา และสายน้ำ มีภาษาพื้นเมืองเฉพาะของแต่ละกลุ่ม เช่น ม้ง กะเหรี่ยง ลาหู่ ไทลื้อ ฯลฯ วัฒนธรรมเป็นแบบเครือญาติ มีการช่วยเหลือกันในชุมชน นิยมทำเกษตรแบบยังชีพ เช่น การทำนาขั้นบันได การปลูกข้าวโพด พืชสมุนไพร และการเลี้ยงสัตว์ มีงานหัตถกรรม เช่น ทอผ้า งานจักสาน เครื่องเงิน และเครื่องประดับพื้นเมือง มีความเชื่อเรื่องผีและวิญญาณ เช่น ผีบรรพบุรุษ ผีป่า ผีน้ำ บางกลุ่มนับถือศาสนาพุทธ คริสต์ หรืออิสลาม ผสมผสานกับความเชื่อดั้งเดิม พิธีกรรมสำคัญ เช่น พิธีเรียกขวัญ พิธีแต่งงาน และเทศกาลประจำปี มีผู้นำชุมชนหรือผู้อาวุโสเป็นศูนย์กลางการตัดสินใจ การค้าขายส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบตลาดท้องถิ่น หรือส่งออกผลิตภัณฑ์หัตถกรรม ในบางพื้นที่ได้รับอิทธิพลจากการพัฒนาเศรษฐกิจ ทำให้มีการเข้าถึงการศึกษาและเทคโนโลยีมากขึ้น                           

อย่างไรก็ตามชุมชนต่าง ๆ ในพื้นที่ยังเผชิญปัญหาการสูญเสียพื้นที่ทำกินจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เขื่อน ถนน และนิคมอุตสาหกรรม การกลืนกลายทางวัฒนธรรม ทำให้ภาษาและขนบธรรมเนียมบางส่วนค่อยๆ หายไป ปัญหาสิทธิที่ดินและสัญชาติ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ไม่มีบัตรประชาชนหรือเอกสารยืนยันตัวตน และปัญหายาเสพติดเป็นเรื่องใหญ่มาชุมชนชนเผ่าในลุ่มน้ำโขงจึงเป็นกลุ่มที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมสูง  มีความผูกพันกับธรรมชาติและมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย โดยต้องปรับตัวให้เข้ากับกระแสพัฒนาและความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอยู่ตลอดเวลา

ด้วยสภาพแวดล้อมและบริบทดังที่กล่าวไปแล้วเบื้องต้น จะเห็นได้ว่าโครงสร้างทางสังคมในชุมชนชนเผ่ามีความหลากหลายซับซ้อน ดังนั้นโครงการนี้จึงมุ่งเน้นการพัฒนาแบบองค์รวม คือการพัฒนาด้านร่างกาย สังคม จิตวิญญาณ  และสิ่งแวดล้อม

ในยอห์นบทที่ 10: 10 กล่าวว่า “ขโมยนั้นย่อมมาเพื่อจะลัก ฆ่า และทำลาย เรามาเพื่อพวกเขาจะได้ชีวิตและจะได้อย่างครบบริบูรณ์”  

ดังนั้นโครงการเปลี่ยนสภาพชุมชนชนเผ่าในลุ่มน้ำโขง จึงมีเป้าหมายในการจัดอบรม ศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนมุมมองความคิดของผู้นำเพื่อพัฒนาบุคคลให้มีทักษะความรู้ และมีบทบาทต่อคริสตจักรและชุมชนแบบองค์รวม เพื่อให้ชุมชนได้รับการพัฒนาอย่างครบบริบูรณ์ตามที่พระคัมภีร์ได้กล่าวเอาไว้